ads

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

จระเข้ร้องให้

ทำไมจระเข้ต้องน้ำตาไหล
ต้นวงศ์ตระกูลของจระเข้และไดโนเสาร์เป็นเครือญาติกัน  พวกมันต่างก็อาศัยอยู่ในโลกมาประมาณ  1.4 ร้อยล้านปีแล้ว  แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป  ไดโนเสาร์ได้สูญพันธุ์ไป เหลือแต่จระเข้ที่ยังยืดหยัดสืบพันธุ์มาได้จนถึงทุกวันนี้





จระเข้ที่มีสัญชาตญาณดุร้าย  โหดเหี้ยมนั้นเมื่อกลืนเหยื่อที่ล่ามาได้  น้ำตาของมันจะไหลออกมาโดยอัติโนมัติ  เพราะกระดูกขากรรไกรของมันจะเคลื่อนไปบีบต่อมน้ำตา  ทำให้น้ำตาไหลออกมา  ดังนั้นน้ำตาจระเข้จึงเป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางกายภาพตามปกติอย่างหนึ่งเท่านั้นเอง


แม้จระเข้จะมีท่าทางดุร้ายแต่ก็รักลูกของมันมาก  ก่อนวางไข่  แม่จระเข้จะต้องกลบพื้นด้วยหญ้า  ตอนที่ ไข่ฟักเป็นตัวอยู่ก็จะเฝ้าอยู่ข้าง ๆ ไ่ม่ห่างไปไหน  เมื่อจระเข้น้อยออกมาจากเปลือกไข่แล้ว  ก็จะปีนขึ้นไปบนหลังของแม่จระเข้เพื่อหาอาหาร  ครึ่งปีหลังจากนั้นจึงจะใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเอง

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

นกหัวขวานหัวแข็ง

ทำไมสมองนกหัวขวานจึงไม่กระทบกระเทือน

ตลอดทั้งปี  นกหัวขวานจะเจาะลำต้นของต้นไม้  คอยจับแมลงกินอย่างขยันขันแข็ง  สาเหตุที่มันสามารถจับแมลงที่อยู่ลึกขึ้นไปในลำต้นไ้ด้  เพราะมันมีปากที่คล้ายสิ่วเหล็ก  เจาะต้นไม้ให้เป็นรูได้รวมถึงมีลิ้นเรียวยาวขับเมือกเหนียวออกมาจับแมลงที่อยู่ลึกในต้นไม้ได้  ในหนึ่งวันมันจะเจาะต้นไม้  500-600 ครั้ง  และต้องใช้แรงเยอะมาก  แต่สมองของมันกลับไม่ได้รับความกระทบกระเทือนใด ๆ  ทั้งนี้เพราะรอบ ๆ สมองของนกหัวขวานห่อหุ้มไปด้วยกระโหลกที่อ่อนนุ่มแต่หนาแน่นคล้ายฟองน้ำ  ภายในเต็มไปด้วยอากาศ  ภายนอกกระโหลกยังห่อหุ้มด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่ง  จึงช่วยลดแรงกระแทกได้  ดังนั้นเมื่อนกหัวขวานกระแทกเจาะลำต้นของต้นไม้  สมองของมันจึงไม่กระทบกับกระโหลกภายนอก

ในขณะที่นกชนิดอื่นชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง  แต่นกหัวขวานกลับชอบไปไหนมาไหนตัวเดียว  มันจะบินไปบินมาอย่างเงียบ ๆ อยู่ในป่าเพียงลำพัง  และสร้างดินแดนของตนเอง  แล้วส่งเสียงร้องอันก้องกังวานเตือนไม่ให้นกอื่น ๆ รุกล้ำเข้ามา
 

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

ปลาหมึกป้องกันตัว

หมึกมีวิธีป้องกันตนเองอย่างไร


หมึกมีรูปร่างที่แบนเรียบและอ่อนนุ่ม  เหมาะกับการอยู่ใต้ท้องทะเลอย่างมาก  มีดวงตาใหญ่โต  รอบ ๆ ปากมีหนวดยาว ๆ อยู่สิบเส้น  หมึกว่ายน้ำได้รวดเร็ว  จึงจับปลาเล็ก ๆ หรือสัตว์ที่ตัวอ่อนนุ่มอื่น ๆ รอบตัวได้  วิธีป้องกันตัวของหมึกมีมากมาย  เช่น  เมื่อพบศัตรูมันจะอาศัยหนวดเพื่อให้หนีได้รวดเร็วขึ้น  หรือไม่ก็เปลี่ยนสีรูปร่างให้เข้ากับสีของสภาพแวดล้อมรอบ ๆ แล้วหลบหนีไป
นอกจากนี้ในร่างกายของหมึกยังมีถุงหมึกซึ่งมีน้ำหมึกสีดำข้น  เมื่อพบศัตรูแล้วหนีไม่ทัน มันจะปล่อย "กระสุนน้ำหมึก"  ออกมา  แล้วอาศัยตอนที่ศัตรูยังงงอยู่นั้น หลบหนีไป  การปล่อยน้ำหมึกไม่เพียงแต่สร้างอุปสรรคในการมองเห็นเท่านั้น  ในน้ำหมึกยังมีส่วนที่เป็นพิษที่ทำให้ศัตรูตัวชาได้  การสะสมน้ำหมึกให้ได้เต็มที่นั้น  ต้องใช้เวลานาน  ดังนั้นหากไม่จวนตัวจริง ๆ หมึกก็จะไม่ปล่อย  "กระสุนน้ำหมึก" ออกมา

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

คุณเต่าอายุยืนสุดสุด

ทำไมเต่าจึงอายุยืน

ในอาณาจักรของสัตว์นั้น  เต่าถือว่าเป็นสัตว์ที่อายุยืนที่สุด  เหตุที่เต่าอายุยืนนั้นเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดำรงชีวิตและสมรรถภาพทางกายของเต่่าด้วย  เต่ามีกระดองที่แข็ง  สามารถปกป้องได้ทั้งหัว  ท้อง  ขาทั้งสี่ และหางจากการถูกทำร้ายจากภายนอก  เมื่อเจอศัตรู เต่าจะหดหัวและขาทั้งสี่เข้าไปอยู่ในกระดองเพื่อป้องกันตนเอง
นอกจากนี้เต่ายังมีพฤติกรรมนิสัยชอบนอน  โดยจะจำศีลทั้งในฤดูหนาวและร้อน  ใน 1 ปีจะนอนประมาณ 10 เดือน  จึงใช้พลังงานในการเผาผลาญน้อย
นอกจากนี้ประสิทธภาพการทำงานของหัวใจเต่าก็ค่อนข้างดีมีผลทำให้เต่าอายุยืน  นักสัตววิทยายังค้นพบอีกด้วยว่า  เคล็ดลับที่ทำให้เต่าอายุยืนยังเกี่ยวข้องกับอีกหลาย ๆ ปัจจัย  เช่นวิธีการหายใจที่มีลักษณะเฉพาะของเต่า  รวมถึงการแตกตัวอย่างช้า ๆ ของเซลล์ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

นกกาเหว่าไม่ทำรัง

ทำไมนกกาเหว่าไม่ทำรังเอง
 
นกกาเหว่าตัวเมีย
 นกกาเหว่าจัดว่าเป็นต้นแบบของนกที่ฝากลูกไว้ในรังนกตัวอื่น  จึงไม่เคยทำรังของตัวเอง  เมื่อถึงฤดูสืบพันธุ์  นกกาเหว่าตัวเมียจะเสาะหารังของนกตัวเล็ก ๆ เช่น  นกเอี้ยง  นกพง  นกอีเสือสีน้ำตาล  เป็นต้น  เมื่อพบรังแล้ว  พวกมันก็จะเลียนแบบท่าทางของเหยี่ยวผู้ดุร้ายพุ่งตรงลงไปที่รังนั้น  ทำให้แม่นกที่กำลังฟักไข่อยู่ตกใจบินหนีไป  จากนั้นนกกาเหว่าจะเอาไข่ที่อยู่ในรังเดิมทิ้งไป  แล้วออกไข่ของตนไว้ในรังนั้นแทนเพื่อกลบเกลื่อนไม่ให้แม่นกที่บินกลับมาเห็นสิ่งผิดปกติ 
นกกาเหว่าตัวผู้



แม้ว่านกกาเหว่าจะตัวใหญ่  แต่ไข่ของมันมีขนาดเล็ก  มีสีและรูปร่างคล้ายกับไข่ของนกเจ้าของรัง  เมื่อแม่นกเจ้าของรังกลับมาจึงตั้งใจฝักไข่ในรังเพราะคิดว่าเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของตนเอง  แถมยังเลี้ยงดูนกกาเหว่าตัวน้อยโดยไม่เห็นสิ่งผิดปกติอีกด้วย



แม้ว่านกกาเหว่าจะมีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกนกที่ไม่ดี  แต่มันก็มีชื่อเสียงในการจับกินแมลงเม่าปีกเกล็ด  (ที่เป็นศัตรูของต้นสน)  นอกจากนี้มันยังจับแมลงที่เป็นศัตรูของการเกษตรและป่าไม้อื่น ๆ อีกด้วย  คนจึงขนานนามพวกมันว่า "ผู้พิทักษ์ป่าไม้"

วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556

หอยผลิตไข่มุก

หอยผลิตไข่มุกออกมาได้อย่างไร

 

ขณะที่หอยมุกกินอาหาร  อาจมีเม็ดทรายหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในเปลือกหอย  สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้จะไปสัมผัสกับเนื้อเยื่อที่หุ้มอยู่ด้านนอกของหอย  เมื่อเนื้อเยื่อเหล่านี้ได้รับการกระตุ้น  ก็จะขับสารมุกซึ่งมีส่วนประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนตออกมาเคลือบสิ่งแปลกปลอมเพื่อลดการระคายเคือง  นานวันเข้า  สารมุกนี้จะเคลือบสิ่งแปลกปลอมนี้เป็นชั้น ๆ จนกลายเป็นไข่มุกที่มีลักษณะแข็ง  แวววาว



ปัจจุบันผู้ทำฟาร์มไข่มุกก็อาศัยหลักการนี้เช่นเดียวกันคือ  นำวัตถุกลม ๆ ใส่เข้าไปในเปลือกหอย  จากนั้นรอเวลาให้ผ่านไปสักระยะหนึ่ง  วัตถุกลม ๆ เหล่านี้ก็จะกลายเป็นไข่มุกก้อนโตขึ้นมา

วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556

กอริลลาทุบหน้าอก

ทำไมกอริลลาจึงชอบทุบหน้าอกตัวเอง

กอริลลามีขนสีดำทั่วตัว  แถมยังมีรอยย่นบนใบหน้าเต็มไปหมด  ทำให้ดูน่ากลัว  โดยเฉพาะตอนที่มันใช้กำปั้นทุบหน้าอกตัวเอง  แล้วแยกเขี้ยวยิงฟัน  ก็ยิ่งทำให้คนรู้สึกกลัวขึ้นมา

จริง ๆ แล้วที่กอริลลาทุบอกตัวเองก็เพื่อแสดงพลังให้ฝ่ายตรงข้ามเห็นเท่านั้น  เมื่อกอริลลาสองตัวที่ไม่ได้มาจากครอบครัวเดียวกันมาเจอกัน  จ่าฝูงของทั้งสองฝ่ายก็จะทุบหน้าอกและส่งเสียงคำรามเพื่อข่มขวัญอีกฝ่ายเท่านั้น  ไม่ได้คิดจะต่อสู้กันจริง ๆ



โดยทั่วไปแล้ว  กอริลลาจะใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันเป็นฝูง  โดยกอริลลาตัวผู้ที่มีขนสีเทาเงินตรงกลางหลังมักจะเป็นจ่าฝูง  เหตุที่ขนกางหลังเป็นสีเทาเงินนั่นเป็นเพราะว่ากอริลลาตัวนี้มีอายุมากแล้ว  แต่ยังแข็งแรงและฉลาดจึงเป็นจ่าฝูงได้ดี