นักวิทยาศาสตร์จะทำให้ไดโนเสาร์คืนชีพได้ไหม
สัตว์เล็ก ๆ บางชนิด ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ไปสัมผัสยางของต้นสนเข้า และถูกหุ้มด้วยยางสนที่หยดมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อเวลาผ่านไป 10 ล้านปี ยางสนเหล่านี้ได้กลายเป็นอำพันในปัจจุบัน ถ้าเราค้นพบอำพันที่มียุงที่เพิ่งไปดูดเลือดไดโนเสาร์มา และบังเอิญโดนยางสนห่อหุ้ม ไดโนเสาร์ก็มีโอกาสฟื้นคืนชีพ เพราะนักวิทยาศาสตร์สามารถนำเลือดของไดโนเสาร์ที่อยู่ในตัวยุงมาผ่านกระบวนการพันธุวิศวกรรมศาสตร์เพื่อให้ได้ DNA ที่สมบูรณ์
แต่ความเป็นจริง่นั้นเป็นไปได้ยากมาก เพราะการที่จะทำให้ไดโนเสาร์คืนชีพต้องมี DNA ของผิวหนังเส้นประสาท กล้ามเนื้อ ดังนั้นการชุบชีวิตไดโนเสาร์จึงเป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น
พฤติกรรม ลักษณะ ความมหัศจรรย์และสาระน่ารู้ของสัตว์นานาชนิด
วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556
กิ้งก่าคามีเลี่ยน
กิ้งก่าคามีเลี่ยนเปลี่ยนสีตัวเพื่ออะไร
ส่วนใหญ่กิ้งก่าจะเปลี่ยนสีเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อม แต่เจ้ากิ้งก่าคามีเลี่ยนเปลี่ยนสีตัวเพื่อสื่อสารภายในกลุ่ม เช่น เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลหรือดำ เพราะโมโหกิ้งก่าตัวอื่น หรือ เปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีที่สดใสอย่างสีส้ม สีแดง หรือสีฟ้า เพราะต้องการผสมพันธุ์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ลิ้นยาวในการจับเหยื่อ คือ แมลงกินเป็นอาหาร โดยมีความยาวของลิ้นมากกว่าความยาวลำตัวถึง 2 เท่า
ส่วนใหญ่กิ้งก่าจะเปลี่ยนสีเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อม แต่เจ้ากิ้งก่าคามีเลี่ยนเปลี่ยนสีตัวเพื่อสื่อสารภายในกลุ่ม เช่น เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลหรือดำ เพราะโมโหกิ้งก่าตัวอื่น หรือ เปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีที่สดใสอย่างสีส้ม สีแดง หรือสีฟ้า เพราะต้องการผสมพันธุ์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ลิ้นยาวในการจับเหยื่อ คือ แมลงกินเป็นอาหาร โดยมีความยาวของลิ้นมากกว่าความยาวลำตัวถึง 2 เท่า
วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ผีเสื้อปีกสวย
ทำไมผีเสื้อจึงมีปีกที่สวยงาม
ชั้นนอกของผีเสื้อปกคลุมด้วยสารคิวติน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ปีกของแมลงหรือเปลือกของสัตว์มีกระดองมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น
เมื่อแสงส่องมายังผิวของปีกผีเสื้อ ชั้นของคิวตินจะสะท้อนและหักเหแสง ทำให้เราเห็นเป็นสีต่าง ๆ ซึ่งถ้าเรามองดูปีกผีเสื้อในมุมต่าง ๆ กัน จะเห็นว่ามันมีสีที่ต่างกันออกไป
ชั้นนอกของผีเสื้อปกคลุมด้วยสารคิวติน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ปีกของแมลงหรือเปลือกของสัตว์มีกระดองมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น
เมื่อแสงส่องมายังผิวของปีกผีเสื้อ ชั้นของคิวตินจะสะท้อนและหักเหแสง ทำให้เราเห็นเป็นสีต่าง ๆ ซึ่งถ้าเรามองดูปีกผีเสื้อในมุมต่าง ๆ กัน จะเห็นว่ามันมีสีที่ต่างกันออกไป
วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ปลาไหลไฟฟ้าหาศัตรู
ปลาไหลไฟฟ้าค้นหาศัตรูอย่างไร
ที่หางของปลาไหลไฟฟ้ามีอวัยวะสำำหรับปล่อยกระแสไฟฟ้า เมื่อปลาไหลพบสิ่งกีดขวางหรือเหยื่อ มันก็จะปล่อยกระแสไฟฟ้าไปรอบ ๆ เมื่อสนามไฟฟ้าเิกิดการเปลี่ยนแปลง ปลาไหลไฟฟ้าก็จะคำนวณตำแหน่งและคุณสมบัติเพื่อโต้ตอบ จากนั้นจึงปล่อยกระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันถึงร้อยโวลท์พุ่งเป้าโจมตีเหยื่อทันที
เหตุที่ไฟฟ้าไม่ช็อตตัวมันเอง เพราะ ปลาไหลไฟฟ้าสร้างประจุให้เกิดขึ้นภายในตัวเกิดเป็นสนามไฟฟ้าโดยที่บริเวณผิวของตัวมันมีลักษณะพิเศษคือ นำไฟฟ้าได้ดีตลอดความยาวลำตัว ดังนั้น ศักย์ไฟฟ้าตลอดพื้นผิวจะมีค่าเท่ากันหมด ซึ่งภายในตัวนำจะไม่มีสนามไฟฟ้าเลย ดังนั้นปลาไหลจึงไม่ถูกช๊อตตัวเอง
ที่หางของปลาไหลไฟฟ้ามีอวัยวะสำำหรับปล่อยกระแสไฟฟ้า เมื่อปลาไหลพบสิ่งกีดขวางหรือเหยื่อ มันก็จะปล่อยกระแสไฟฟ้าไปรอบ ๆ เมื่อสนามไฟฟ้าเิกิดการเปลี่ยนแปลง ปลาไหลไฟฟ้าก็จะคำนวณตำแหน่งและคุณสมบัติเพื่อโต้ตอบ จากนั้นจึงปล่อยกระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันถึงร้อยโวลท์พุ่งเป้าโจมตีเหยื่อทันที
เหตุที่ไฟฟ้าไม่ช็อตตัวมันเอง เพราะ ปลาไหลไฟฟ้าสร้างประจุให้เกิดขึ้นภายในตัวเกิดเป็นสนามไฟฟ้าโดยที่บริเวณผิวของตัวมันมีลักษณะพิเศษคือ นำไฟฟ้าได้ดีตลอดความยาวลำตัว ดังนั้น ศักย์ไฟฟ้าตลอดพื้นผิวจะมีค่าเท่ากันหมด ซึ่งภายในตัวนำจะไม่มีสนามไฟฟ้าเลย ดังนั้นปลาไหลจึงไม่ถูกช๊อตตัวเอง
วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556
แมลงฆ่าคน
ยุงเป็นแมลงที่ฆ่าคนมากที่สุดในโลก
ดังคำพูดที่ว่ายุงร้ายกว่าเสือ เพราะมันสามารถแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็ว อาทิ เชื้อไวรัส เชื้อมาลาเรีย และมีการระบาดของโรคที่มียุงเป็นพาหะ ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมและสัตว์เป็นแหล่งเพาะเชื้อของยุงพวกนี้มาให้กับมนุษย์ เช่นโรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออก โรคไข้สมองอักเสบ โรคเท้าเช้า เป็นต้น
ปัจจุบันมียุงมากมายหลายชนิด แต่ที่เป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ ได้แก่ ยุงก้นปล่อง ยุงลาย ยุงรำคาญ ยุงดำ ผู้ติดเชื้อโรคทั่วโลกมีมากกว่า 70 ล้านคนต่อปี และคร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก
ยุงลาย |
ดังคำพูดที่ว่ายุงร้ายกว่าเสือ เพราะมันสามารถแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็ว อาทิ เชื้อไวรัส เชื้อมาลาเรีย และมีการระบาดของโรคที่มียุงเป็นพาหะ ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมและสัตว์เป็นแหล่งเพาะเชื้อของยุงพวกนี้มาให้กับมนุษย์ เช่นโรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออก โรคไข้สมองอักเสบ โรคเท้าเช้า เป็นต้น
ยุงก้นปล่อง |
ปัจจุบันมียุงมากมายหลายชนิด แต่ที่เป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ ได้แก่ ยุงก้นปล่อง ยุงลาย ยุงรำคาญ ยุงดำ ผู้ติดเชื้อโรคทั่วโลกมีมากกว่า 70 ล้านคนต่อปี และคร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก
ยุงรำคาญ |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)